อย่างที่เรารู้กันดีว่าปลวกวรรณะตํ่าๆนั้น ไม่มีดวงตาและไม่มีเพศโดยในบทความนี้จะอ้างอิงจากบทความจากเว็บไซต์ www.technologynetworks.com

เมื่อเป็นเช่นนี้ปลวกงานเหล่านี้จะแยกกันออกได้อย่างไร ว่าใครเป็นใครภายในรัง ใครเป็นผู้ที่มันต้องฟังคำสั่ง ใครที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน และอาหารที่มันได้หามานั้นต้องนำมาให้ใคร

โดยที่มีทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วพบว่า ปลวกที่มีวรรณะสูงๆนั้น จะมีสารเคมีเฉพาะที่เคลือบอยู่บริเวณลำตัว เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีชื่อว่า ฮีนอีโคเซน (heneicosane) ซึ่งจะมีไว้เพื่อให้ปลวกงานนั้นสามารถที่จะแยกออกได้ว่าใครเป็นใคร และมันควรต้องดูแลใคร

นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังได้ทำการพิสูจน์อีกว่า ข้อสันนิษฐานนั้นเป็นจริงหรือไม่ ด้วยการนำสารฮีนอีโคเซน มาหยดลงบนจานแก้วเพื่อสังเกตพฤติกรรมของปลวกงานว่าจะมีปฎิกิริยาอย่างไร เมื่อปลวกงานเข้าใกล้สารดังกล่าวแล้วพบว่า พวกมันมีอาการสั่นเสมือนมันรู้ว่านี่คือปลวกวรรณะสูงที่มันต้องยำเกรง ทีมวิจัยยังได้ทำการนำฟีโรโมนนี้ไปผสมกับสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้มาจากรังปลวก เพื่อหลอกปลวกงานว่านี่คือกลิ่นของรัง พบว่าปลวกงานยังคงมีปฎิกิริยาเช่นเดิม

ฉะนั้น ทีมวิจัยจึงได้ทำการสรุปออกมาแล้วว่า “ปลวกนั้นสามารถสื่อสารกันได้ผ่านทางกลิ่นนั่นเอง” โดยกลิ่นของรังปลวกจะมีกลิ่นเฉพาะเพื่อให้ปลวกงานรู้ว่านี่คือ”บ้าน”        ส่วนฟีโรโมนที่ผสมอยู่ภายในรังนั้น ทำให้ปลวกงานรับรู้ว่าขณะนี้ราชินียังอยู่ภายในรัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้พวกมันรับรู้ว่าสถานการณ์ภายในรังยังคงเป็นปกตินั่นเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“บทความและข่าวสารอื่นๆ”